กลุ่มชาติพันธุ์ไทย-โคราช
กลุ่มชาติพันธุ์ไทยที่อยู่ในนครราชสีมาเรียกอีกอย่างว่า ไทยโคราช เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดในจังหวัด นครราชสีมา คนกลุ่มนี้ใช้ภาษาเหมือนไทยในส่วนกลาง เพียงแต่เสียงวรรณยุกต์เพี้ยนไปบ้าง และมีคำศัพท์ สำนวนบางอย่างที่มีลักษณะเป็นของตนเอง เดิมถิ่นนี้ชาวพื้นเมืองเป็นละว้า ชาวไทยได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองให้ขุนหลวงพะงั่วยกกองทัพมารวบรวมดินแดนแถบนี้เข้ากับกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองโปรดฯ ให้กองทหารอยุธยาตั้งด่านอยู่ประจำ และส่งช่างชาวอยุธยามาก่อสร้างบ้านเรือนและ วัดวาอารามเป็นอันมาก ชาวไทยอยุธยาได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้อพยพมาอยู่นครราชสีมาอีกระลอกหนึ่งคือ คราวเสียกรุงครั้งที่ 2 โดยมีชาวไทยชายฝั่งทะเลภาค ตะวันออกได้อพยพเข้ามาเพิ่มด้วย ชาวไทยกลุ่มนี้และชาวไทยพื้นเมืองเดิม (เข้าใจว่าเป็นชาวสยามลุ่มน้ำมูล (ไท-เสียม) อาจมีเขมรและมอญปนอยู่ด้วย) สืบเชื้อสายเป็นชาวไทยโคราชและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีสืบทอดกันมา
กลุ่มไทยโคราชเป็นกลุ่มที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองนครราชสีมา เพราะสำเนียงแตกต่างจากกลุ่มอื่น เป็น กลุ่มที่พูดภาษาไทยโคราชซึ่งคล้ายคลึงภาษาไทยกลางแต่สำเนียงเพี้ยน เหน่อ ห้วนสั้น เกิ่นเสียง มีคำไทยลาว (อีสาน) ปะปนบ้างเล็กน้อย ชาวไทยโคราชแต่งกายแบบไทยภาคกลาง รับประทานข้าวเจ้า อาหารทั่วไป คล้ายคลึงภาคกลาง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมคล้ายไทยภาคกลาง ปัจจุบัน กลุ่มไทยโคราช อาศัยอยู่ในทุกอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ยกเว้นบางอำเภอที่มีชาวไทยลาวมากกว่า (อำเภอบัวใหญ่ ปัก ธงชัย และสูงเนิน) และยังพบชาวไทยโคราชในบางส่วนของจังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอบำเหน็จณรงค์และจัตุรัส) และจังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง และหนองกี่)
อาหารประจำท้องถิ่น
กลุ่มไทยโคราช มีอาหารประจำท้องถิ่น ได้แก่ ผัดหมี่โคราชและขนมจีนบ้านประโดก ซึ่งถือเป็นอาหารประจำท้องถิ่นที่คนโคราชมักจะนำมาจัดขึ้นโต๊ะอาหารบริการแขกบ้านแขกเมือง
Thai-Korat ethnic groups
The Thai ethnic group in Nakhon Ratchasima, also known as Thai Korat, is the largest group in Nakhon Ratchasima. This group uses language like Thai in the middle. Only the tonal tones are distorted and some vocabulary and expressions have their own characteristics Formerly, the locals were Lawa. Thai people have migrated to live. Ayutthaya period King U Thong asked Khun Luang Pha Nguan to mobilize the army to gather this region with Ayutthaya. King U Thong, please Allow the Ayutthaya military to be stationed at the station And sent Ayutthaya technicians to build houses and Numerous temples, Thai Ayutthaya people migrated to live more in the reign of King Narai the Great. And migrated to Nakhon Ratchasima, another wave that is The second time the city lost with the Thai coastal region. East has also migrated. This group of Thai people and native Thai people. (Understand that the people of the Siam Basin, Mun (Tai-Siem) may have Khmer and Mon together) descend to the Thai Korat and preserve traditions and traditions.
Thai Korat group is a group that shows the identity of Nakhon Ratchasima. Because the accent is different from other groups, is the group that speaks Korat Thai which is similar to the Central Thai language, but the accent is distorted, short, slightly mixed with the Thai, Laos (Isan) words mixed slightly Korat Thai people dress in a traditional Thai style. Eating rice, general food Similar to the central region, traditions and traditions similar to the central region. Currently, Thai Korat group Live in all districts in Nakhon Ratchasima Except some districts that have more Thai-Laos people (Bua Yai District, Pak Thong Chai and Sung Noen) and also found Thai Korat people in some parts of Saraburi province. Lopburi Chaiyaphum (Bamnet Narong District and Square) and Buri Ram Province (Amphoe Mueang Buri Ram, Nang Rong and Nong Ki)
Local food
Thai Korat Group There are local dishes such as Pad Mee Korat and Ban Pradok noodles. Which is considered a local food that Korat people often bring to the table to serve guests.