การแต่งกาย กลุ่มชาติพันธุ์ไทยส่วย(กูย)
การแต่งกายและผ้าทอ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยส่วย (กูย) คุณค่าและความสำคัญ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยส่วย มีการทอผ้าไหมและผ้าฝ้าย มีเทคนิคการทอและลวดลายที่แตกต่างกันไป เช่น จิกกะน้อม (ผ้าหางกระรอก) จิกกวี (อันลุยซีม) จิกโฮล (ผ้ามัดหมี่ลายทาง) จิกอซอง (ผ้ายกลาย)
– จิกกะน้อม เป็นผ้าที่มีลักษณะคล้ายผ้าหางกระรอกหรือผ้ากะเนียวของชาวไทยเขมร เป็นสีล้วน ลักษณะออกจะเหลี่ยมมัน เป็นผ้าสำหรับผู้ชายนุ่งในพิธีการสำคัญต่าง ๆ
– โสร่ง เป็นผ้าลายตารางสี่เหลี่ยมใหญ่มีหลายสี ในการทอจะนำเส้นไหมมา “กวี” หรือมา:.บกันสองเส้นเพื่อให้เกิดความมันและหนา
– จิกกวี นผ้าที่มีลักษณะคล้ายอันลุยซีมของชาวไทย-เขมร จะมีลายทางยาวเป็นร่องเ 1 เป็นผ้าที่ผู้หญิงใช้นุ่งในงานสำคัญๆ
– จิกโฮล เงนผ้าประเภทผ้ามัดหมี่ลายทาง เรียกว่า “จิกโฮล” การนุ่งผ้าประเภทนี้จะต้องต่อเฉิง (ตีนซิ่น) และอึมเปิล (หัวซิ่น) เช่นเดียวกับจิกกวี
– สไบกอซอง ผ้าสไบที่ใช้พาดบ่าหรือเป็นผ้าเบี่ยงของชาวไทยส่วยเป็นผ้ายกดอกหรือยกเขาเรียกว่าตะกอชาวไทยส่วยจะเรียกผ้าประเภทนี้ว่า ผ้าแก๊บ จะทอแล้วนำมาตัดเป็นตัวเสื้อและผ้าสไบ ส่วนมากตัวเสื้อจะนิยมสีดำ
– หัวซิ่น เรียกว่า อึมเปิล จะทอเป็นหลายขิต คล้ายของชาวไทยลาว มีไว้สำหรับต่อหัวซิ่น
– ตีนซิ่น มี 2 ชนิดคือ เจิงหรือยืง เป็นตีนซิ่นที่มีความกว้าง 2 นิ้ว นิยมสีดำ โดยทอเป็นผ้าฝ้ายริมขอบล่างสุดใช้ไหมสีเหลืองแดง และกระบูลเป็นตีนที่มีลายเป็นผ้ามัดหมี่เหมือนกะโบล ของชาวไทยเขมร
