ผ้าทอ กลุ่มชาติพันธุ์ ไทยเขมร
– ผ้าโฮล มีลักษณะเป็นลายริ้วสลับกับลายมัดหมี่ใช้เป็นผ้านุ่งในพีแต่งาน ใช้เป็นของไหว้ญาติใหญ่
– ผ้าอันปรม เป็นผ้ามัดหมี่สองทาง ซึ่งเป็นเทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อน อาศัยความชำนาญอย่างสูง อันปรมมีความแตกต่างจากผ้าทอลวดลายโครงสร้างอื่นๆคือในลายตารางเล็ก ๆ นั้นจะมีจุดประสีขาว ลอดเด่นขึ้นมาจากพื้นสีแดงน้ำตาลซึ่งเกิดจากมัดเส้นยืนเส้นพุ่งเป็นกำต่างกันประมาณครึ่งเซนติเมตร แล้วย้อมด้วยสีแดงจึงเกิดสีกราขึ้นบนไหมที่มัดย้อมอันนี้
– ผ้าสมอ มีลักษณะเป็นลายตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ มีสีดำเหลืองทองและสีเขียวขี้ม้า ซึ่งเป็นผ้าที่นิยมใช้มากในผู้สูงอายุ
– อันลุยซึม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า จะปะชวร มีลักษณะเป็นลายตามขวางมีสีแดง ขาวเหลืองทองและเขียวสลับกันไปจนจบผืน ในผืนหนึ่งจะใช้เพียงสี่เส้นเท่านั้น ลักษณะเด่นของผ้าอันลุยนคือเป็นลายดิ่งสลับสีเป็นสู่
– ผ้ากะเนียว เป็นผ้าที่ใช้เส้นไหมต่างสีกันตั้งแต่สองเส้นขึ้นไป มาพันให้ยวกัน มีลักษณะเด่นคือเนื้อผ้าหนาและสวยแปลกตา ใช้สำหรับนุ่งกระเบนหรือเป็นผ้านุ่งหางกระรอกในงานบวช งานแต่งงานภูมิรู้รู ภูมิปัญญา อัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดบุรีรัมย์
