กลุ่มชาติพันธุ์ไทย-โคราช

กลุ่มชาติพันธุ์ไทย-โคราช             กลุ่มชาติพันธุ์ไทยที่อยู่ในนครราชสีมาเรียกอีกอย่างว่า ไทยโคราช เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดในจังหวัด นครราชสีมา คนกลุ่มนี้ใช้ภาษาเหมือนไทยในส่วนกลาง เพียงแต่เสียงวรรณยุกต์เพี้ยนไปบ้าง และมีคำศัพท์ สำนวนบางอย่างที่มีลักษณะเป็นของตนเอง เดิมถิ่นนี้ชาวพื้นเมืองเป็นละว้า ชาวไทยได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัย  สมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองให้ขุนหลวงพะงั่วยกกองทัพมารวบรวมดินแดนแถบนี้เข้ากับกรุงศรีอยุธยา  พระเจ้าอู่ทองโปรดฯ ให้กองทหารอยุธยาตั้งด่านอยู่ประจำ และส่งช่างชาวอยุธยามาก่อสร้างบ้านเรือนและ วัดวาอารามเป็นอันมาก ชาวไทยอยุธยาได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้อพยพมาอยู่นครราชสีมาอีกระลอกหนึ่งคือ คราวเสียกรุงครั้งที่ 2 โดยมีชาวไทยชายฝั่งทะเลภาค ตะวันออกได้อพยพเข้ามาเพิ่มด้วย ชาวไทยกลุ่มนี้และชาวไทยพื้นเมืองเดิม (เข้าใจว่าเป็นชาวสยามลุ่มน้ำมูล  (ไท-เสียม) อาจมีเขมรและมอญปนอยู่ด้วย) สืบเชื้อสายเป็นชาวไทยโคราชและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีสืบทอดกันมา             กลุ่มไทยโคราชเป็นกลุ่มที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองนครราชสีมา เพราะสำเนียงแตกต่างจากกลุ่มอื่น เป็น กลุ่มที่พูดภาษาไทยโคราชซึ่งคล้ายคลึงภาษาไทยกลางแต่สำเนียงเพี้ยน เหน่อ ห้วนสั้น เกิ่นเสียง มีคำไทยลาว (อีสาน) ปะปนบ้างเล็กน้อย ชาวไทยโคราชแต่งกายแบบไทยภาคกลาง รับประทานข้าวเจ้า อาหารทั่วไป คล้ายคลึงภาคกลาง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมคล้ายไทยภาคกลาง ปัจจุบัน กลุ่มไทยโคราช อาศัยอยู่ในทุกอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ยกเว้นบางอำเภอที่มีชาวไทยลาวมากกว่า (อำเภอบัวใหญ่ ปัก ธงชัย และสูงเนิน)…

กลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมร 

กลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมร              จากอาณาเขตที่ตั้งทางทิศใต้ของจังหวัดบุรีรัมย์ที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน คือประเทศกัมพูชา ทำให้  มีการอพยพและได้รับอิทธิพลทางด้านภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์เขมร โดยกลุ่มไทยเขมร เป็น  กลุ่มประชากรไทยที่พูดภาษาเขมร มักเรียกอีอย่างหนึ่งว่า เขมรสูง ส่วนใหญ่พบในเขต 3 จังหวัด ได้แก่ สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ซึ่งกลุ่มไทยเขมรในจังหวัดบุรีรัมย์ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ อำเภอสตึก อำเภอประโคนชัย อำเภอประคำ อำเภอนางรอง อำเภอกระสังและอำเภอละหานทราย             ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์                  กลุ่มไทยเขมร รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไว้อย่างเหนียวแน่น    ทั้งภาษาการดำเนินวิถีชีวิต และความเชื่อ ประเพณีที่มีความสำคัญได้แก่              พิธีแซนโฎนตา              พิธีแซนโฎนตาหรือการเซ่นผีปูย่าตายาย หรือผีบรรพบุรุษของชาวเขมรที่ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่วงศาคณาญาติที่ล่วงลับไปแล้วได้แบ่งออกเป็นวันเบ็นตูจ และวันเบ็นทม คือสารทเล็ก และสารทใหญ่ โดยเบ็นตูจ จัดกันในวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือน 10 และ เบ็นทม จักขึ้นในวันแรม 14-15 ค่ำ เดือน…

หัตถกรรมพื้นบ้าน  

หัตถกรรมพื้นบ้าน                ลักษณะภูมิศาตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ทําให้ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพ ด้านการเกษตรเป็นหลัก จึงจําเป็นต้องอาศัยเครื่องมือเครื่องใช้จากการจักสาน เพราะสามารถนําวัตถุ   ในท้องถิ่นมาผลิตได้ด้วยตนเอง และยังเป็นเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านที่มีประโยชน์ใช้สอยได้ดี   เครื่องจักสานภาคอีสานส่วนมากทําจากไม้ไผ่ ได้แก่  Folk crafts             Geographical characteristics of the northeast or northeast regions Causing the majority of the population to have a career Mainly agricultural Therefore need to use tools from weaving Because the object can be reused Locally produced by oneself And…

กลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว

กลุ่มชาติพันธุ์อีสาน             ประชากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือชาวอีสาน ประกอบด้วยชนเผ่าที่มาจากหลายกลุ่ม ชาติพันธุ์ รวมตัว กันตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกันอย่างมากมาย ชาวไทยอีสานกระจายอยู่ทุกจังหวัดทั่วภูมิภาค ชาวไทอีสาน ชาวภูไท ชาวไทกะโซ่ ชาวไทย้อ ชาวไทกะเลิง ชาวไทโย้ย             ที่อยู่อาศัย ที่อยู่อาศัย แต่เดิมหมู่บ้านในชนบทภาคอีสานยังคงยึดถือรูปแบบของการเป็นอยู่ที่เรียบ  ง่าย บ้านเรือนที่ปลูกสร้างใช้วัสดุในท้องถิ่น เป็นเรือนใต้ถุนสูง ตีฝ่าสายบัว หลังคาทรงจั่วต่ํา ปัจจุบันส่วนใหญ่ เป็นบ้านไม้หรือก่ออิฐฉาบปูน มุงหลังคาสังกะสีและกระเบื้อง ผู้มีฐานะดีมักสร้างบ้านโดยใช้วัสดุราคา  แพง รูปทรงตะวันตก             กันแทบทุกครอบครัว รูปแบบการแต่งกายมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ผู้หญิงนุ่งซิ่น ผู้ชายนุ่งโสร่ง    ปัจจุบันหันมาใช้กางเกงเสื้อผ้าแบบตะวันตก แต่ก็ยังแต่งกายพื้นเมืองในเวลามีเทศกาลงานบุญต่าง ๆ ตาม   ประเพณีท้องถิ่น             ขนบธรรมเนียมประเพณี ขนบธรรมเนียมประเพณี ชาวอีสานส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา แต่ทาง  ปฏิบัติยึดถือทั้งผี พราหมณ์และพุทธศาสนา ที่ได้สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน รวมเรียกว่า “ฮีตสิบสอง คองสิบสี่” เป็นผลให้สังคมชาวอีสานอยู่กันอย่างเรียบง่ายสงบสุข ฮีตสิบสอง หมายถึง จารีตประเพณีที่ต้องปฏิบัติในโอกาสต่าง ๆ…

พิธีกรรมในการคล้องช้าง 

พิธีกรรมในการคล้องช้าง              พิธีกรรมจะเริ่มที่ศาลปะกําหรือโรงปะกํา เพื่อแจ้งให้ผีปะกำหรือครูปะกําทราบว่าพวกของตนจะ  ออกไปคล้องช้างขอความคุ้มครองดูแลรักษาให้แคล้วคลาดจากอันตรายและให้มีโชคลาภกลับมาในพิธีจะมี ครูบาใหญ่หรือหมอเฒ่าเป็นประธานมีหมอสะดําอีกสามคนเป็นผู้ช่วย รวมเป็น 4 คนจะทําพิธีกรรม ส่วนหมอช้างอื่นและญาติพี่น้องจะนั่งล้อมรอบอยู่ในพิธีนั้น หมอช้างที่จะเข้าทำพิธีเช่นผีปะกำต้องนุ่งโสร่งไหม สีเขียวตองอ่อนไม่สวมเสื้อถือผ้าขาวม้า 2 ผืนผืนหนึ่งคาดเอวผืนหนึ่งคล้องเฉลียงไหล่             เมื่อการเซ่นสรวงผีปะกําเสร็จสิ้นลง หมอเฒ่าจะยกหนังปะกําจากศาลปะกํามาวางบนหลังช้างต่อ โดยม้วนหนังปะกําเป็นวง 2 วงวางทับหนังรองหลังช้างผูกไม้งอหรืองกติดกับหนังปะกำเมื่อทุกอย่างพร้อม แล้วหมอเฒ่าทุกคนจะอำลาญาติพี่น้องเพื่อออกเดินทางตามฤกษ์ยามที่หมอเฒ่ากำหนดไว้ Ritual for carrying an elephant             The ritual begins at the Pak Kach court or the Pak Kach rang. In order to notify the ghost or the Pak Pa teacher to know that their…

กลุ่มชาติพันธุ์กุย

กลุ่มชาติพันธุ์ กุย             ส่วยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่มีภาษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตในอดีตที่แตกต่างไปจากชนกลุ่มอื่นใน    ประเทศไทย ชนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า กวยหรือกุย แต่คนทั่วไปนิยมเรียกเขาว่า “ส่วย” มีภูมิลําเนาเดิมอยู่ ในดินแดนตอนใต้ของประเทศลาว แถบเมืองอัตปือแขวงจําปาศักดิ์ แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองการสงคราม จึง  ได้พากันอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดศรีสะเกษ ชนกลุ่มนี้มี ความชํานาญในการคล้องช้างมาก่อนที่จะอพยพมาอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นเมื่ออพยพมาอยู่ในแผ่นดินไทย   ปัจจุบันจึงได้นําช้างเข้ามาเลี้ยงด้วย และมีการเลี้ยงสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน จนถือได้ว่าเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมที่สําคัญอีกส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตชาวส่วย              โดยธรรมชาติแล้ว ช้างมีลักษณะนิสัยชอบอยู่ป่ามากกว่าอยู่ในที่โล่ง ดังนั้นเมื่อกลุ่มชาวส่วยเลือก ทําเลตั้งบ้านเรือนจึงเลือกเอาที่ใกล้ป่าและมีน้ำสะดวกสามารถปล่อยช้างเข้าหากินได้ การปล่อยช้างให้หากิน ตามธรรมชาตินี้เกิดผลดีหลายประการคือไม่ต้องเป็นภาระในการเลี้ยงดูแก่เจ้าของมากนักส่วนช้างก็มีอาหาร   กินอย่างอุดมสมบูรณ์และที่สําคัญที่สุดคือ ได้อยู่กันเป็นกลุ่มระหว่างตัวผู้กับตัวเมีย จึงสามารถผสมพันธุ์กัน  ให้เกิดลูกได้ตามธรรมชาติ ดังนั้นในเขตอําเภอจอมพระ อําเภอท่าตูม อําเภอชุมพลบุรีและอําเภอสตึก อัน เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวส่วยจึงมีช้างเป็นจํานวนมากกว่าท้องถิ่นอื่น ๆ เพราะมีอาหารและแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์  เหมาะแก่การเลี้ยงช้างมาก Guido ethnic group             Tribute is one ethnic group that has language,…

สุ่มปลาดุก

สุ่มปลาดุก             สุ่มปลาดุกมีรูปร่างรูปทรงเฉพาะต่างจากสุ่มจับปลาทั่วไป ใช้สุ่มจับปลาดุกในแหล่งน้ำที่เริ่มแห้งมีโคลนตม พบเห็นน้อยมาก คาดว่าจะไม่มีการประดิษฐ์คิดสร้างขึ้นมาอีก ดังนั้น จึงอาจเป็นเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่คงเหลือให้เห็นเพียงรูปร่าง รูปทรง และคำบอกเล่าจากประสบการณ์ของคนรุ่นก่อน ๆ ที่เคยใช้ เคยมี

ปืนแก็ป

ปืนแก็ป เป็นเครื่องมือล่าสัตว์ที่มีอันตรายมากกว่าเครื่องมือชนิดอื่น ๆมีอานุภาพใช้ล่าสัตว์ เล็ก ๆ ถึงสัตว์ขนาดใหญ่ เป็นอาวุธป้องกันตัว ปราบปรามโจรผู้ร้ายสมัยก่อนใช้ในศึกสงคราม ผู้ใช้ปืนต้องมีความชํานาญในการใช้ รวมถึงต้องรู้จักดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีพร้อมใช้งาน ปืนแก๊ปมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับดินปืน หากปืนมีสภาพไม่พร้อมอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ หรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้ Gun             It is a hunting tool that is more dangerous than other tools. Have the power to hunt small animals to large animals As a defense weapon Suppress the outlaws of the past, used in war The gun user must have…

เสือตบก้น

เสือตบก้น เป็นเครื่องมือจับตาย โดยการตีเข้าด้านท้ายสัตว์ฟันแทะ ขนาด เล็ก เช่น กระรอก กระแต บ่างหรือหนูท้องขาวที่อาศัยหากินมะพร้าว ขนุน มะม่วง ชมพู่ ในสวนผลไม้ของชาวบ้าน เครื่องมือชนิดนี้ มีเจตนา มุ่งตักเพื่อฆ่าทําลายศัตรูพืชเป็นลําดับแรก ดักเพื่อเป็นอาหารมีความ สําคัญรองลงมา ปัจจุบันเสือตบกันพบได้น้อยมาก สาเหตุเพราะจํานวน สัตว์เริ่มลดน้อยลง มีเครื่องมือหรือวิธีการอื่น ๆ ทดแทนได้ อีกทั้งการ ประดิษฐ์สร้างขึ้นด้วยความประณีต กลไกที่ใช้รุนแรงกว่าเครื่องมือชนิดอื่น ผู้ใช้ต้องระมัดระวังขณะตั้งกลไก หากผิดพลาดเผอเรอ คันตีตอาจ ดีดกลับตีนิ้วมือผู้ใช้ให้ได้รับบาดเจ็บได้ King tiger             Is a deadly tool By beating in the back of small rodent animals such as squirrels, chipmunks, or white rats living…

แร้วตบ แร้วถุง

แร้วตบ แร้วถุง เป็นเครื่องมือดักจับเป็น นกตะขาบ นกกระปูด นกเอี้ยง โดยใช้แมลงและสัตว์ขนาดเล็ก เช่น ตั้กแตน จิ้งหรีด เขียด ลูกกบ ลูกกิ้งก่า เป็นเหยื่อล่อให้เหมาะสม กับนกแต่ละชนิด แร้วตบมีลักษณะการดักจับต่างกับดัง บาน ตั้งบานจะใช้วิธีการดักจับโดยการชัด ฝา ครอบขึ้นด้านบน แล้วจะตะปบครอบตัวนกลง ด้านล่างที่พื้น ส่วนแร้วตบจะมีฝาครอบ 2 ฝา เมื่อใช้ปีกจะกางบานออกลงที่พื้น คล้ายปีกผีเสื้อ ที่กางปีกออก แล้วจะทํางานด้วยการตบจาก พื้นขึ้นข้างบน นกจะติดอยู่ในถุงที่เป็นตาข่าย ที่ถักร้อยรอบปีกทั้งสองข้าง จึงมีชื่อเรียกตาม ลักษณะและวิธีการทํางานของเครื่องมือว่า แร้ว ตบ หรือ แร้วถุง Catch the bag             Is a trap to trap centipedes, bulldogs, and birds, using insects and small…

ความยินยอมข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ

เรามีการใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง หรือเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์การใช้งานให้แก่คุณ