ผ้าทอ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยเบิ้ง (ไทยนางรอง) – หญิง นุ่งผ้าโจงกระเบน เป็นไหมหางกระรอกสีเข้ม สวมเสื้อลูกไม้มีแขน คาดผ้าตะเบงมาน -ขาย นุ่งผ้าโสร่ง เป็นผ้าไหม คาดเอว (เคียนพุ) ด้วยผ้าไหม และพาดป่าด้วยผ้าไหมอีกผืน สวมเสื้อย้อมคราม หรือเสื้อผ้าไหมลายตาราง
Category Archives: เครื่องแต่งกาย
ผ้าทอ กลุ่มชาติพันธุ์ ไทยส่วย(กูย) – โสร่ง เป็นผ้าลายตารางสี่เหลี่ยมใหญ่มีหลายสี ในการทอจะนำเส้นไหมมา “กวี” หรือมาควบบกันสองเส้นเพื่อให้เกิดความมันและหนา – จิกกวี เป็นผ้าที่มีลักษณะคล้ายอันลุยซีมของชาวไทย-เขมร จะมีลายทางยาวเป็นร่องเ 1 เป็นผ้าที่ผู้หญิงใช้นุ่งในงานสำคัญ ๆ – จิกโฮล เป็นผ้าประเภทผ้ามัดหมี่ลายทาง เรียกว่า “จิกโฮล” การนุ่งผ้าประเภทนี้จะต้องต่อเฉิง (ตีนซิ่น) และอึมเปิล (หัวซิ่น) เช่นเดียวกับจิกกวี – สไบกอซอง ผ้าสไบที่ใช้พาดบ่าหรือเป็นผ้าเบี่ยงของชาวไทยส่วย จะทอเป็นผ้ายกดอกหรือยกเขาเรียกว่าตะกอชาวไทยส่วยจะเรียกผ้าประว่าผ้าแก้บ จะทอแล้วนำมาตัดเป็นตัวเสื้อและผ้าสไบ ส่วนมากตัวเสื้อจะนิยมสีดำ
ผ้าทอ กลุ่มชาติพันธุ์ ไทยเขมร – ผ้าโฮล มีลักษณะเป็นลายริ้วสลับกับลายมัดหมี่ใช้เป็นผ้านุ่งในพีแต่งาน ใช้เป็นของไหว้ญาติใหญ่ – ผ้าอันปรม เป็นผ้ามัดหมี่สองทาง ซึ่งเป็นเทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อน อาศัยความชำนาญอย่างสูง อันปรมมีความแตกต่างจากผ้าทอลวดลายโครงสร้างอื่นๆคือในลายตารางเล็ก ๆ นั้นจะมีจุดประสีขาว ลอดเด่นขึ้นมาจากพื้นสีแดงน้ำตาลซึ่งเกิดจากมัดเส้นยืนเส้นพุ่งเป็นกำต่างกันประมาณครึ่งเซนติเมตร แล้วย้อมด้วยสีแดงจึงเกิดสีกราขึ้นบนไหมที่มัดย้อมอันนี้ – ผ้าสมอ มีลักษณะเป็นลายตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ มีสีดำเหลืองทองและสีเขียวขี้ม้า ซึ่งเป็นผ้าที่นิยมใช้มากในผู้สูงอายุ – อันลุยซึม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า จะปะชวร มีลักษณะเป็นลายตามขวางมีสีแดง ขาวเหลืองทองและเขียวสลับกันไปจนจบผืน ในผืนหนึ่งจะใช้เพียงสี่เส้นเท่านั้น ลักษณะเด่นของผ้าอันลุยนคือเป็นลายดิ่งสลับสีเป็นสู่ – ผ้ากะเนียว เป็นผ้าที่ใช้เส้นไหมต่างสีกันตั้งแต่สองเส้นขึ้นไป มาพันให้ยวกัน มีลักษณะเด่นคือเนื้อผ้าหนาและสวยแปลกตา ใช้สำหรับนุ่งกระเบนหรือเป็นผ้านุ่งหางกระรอกในงานบวช งานแต่งงานภูมิรู้รู ภูมิปัญญา อัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดบุรีรัมย์
ผ้าทอ กลุ่มชาติพันธุ์ ไทย-ลาว – ผ้ามัดหมี่ เป็นผ้าไหมหรือผ้าที่เกิดลวดลายจากกการย้อมและทอเป็นหลักโดยการย้อมเส้นไหมเป็นรอยด่างโดยการผูกหรือมัดให้เกิดช่องว่าง – ผ้าหางกระรอก เป็นผ้าไหมที่ทอเพื่อทำเป็นผ้าโสร่งโจงกระเบน มีความแน่นเรียบหนาหน้าผ้ากว้าง สีมีการตีเกลียวเส้นไหมสลับสี เพื่อให้เกิดสีเหลื่อม – ผ้าตีนจก หรือ ผ้าที่ทอลวดลายสลับกับการปักหรือควักเส้นไหมขึ้นมาระหว่างสอด – แพรวา เป็นผ้าที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อของชาวภูไท ทอด้วยมือลวดลายของผ้าเป็นลักษณะผสมระหว่างลายขิดกับลายจก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขิดไหม – ผ้าขิด เป็นผ้าพื้นเมืองของอีสาน ผ้าที่ทอด้วยฝ้าย เรียกว่า ขิดฝ้าย – ผ้าซิ่นตีนแดง เป็นผ้าไหม/ผ้าฝ้ายมัดหมี่ ถือเป็นผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์
การแต่งกายและผ้าทอ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยเบิ่ง (ไทยนางรอง) คนโคราชเป็นคนรักสนุก ใจบุญ ขยันอดทนใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย จึงมีนิสัยการแต่งตัวสบาย ๆ นิยมผ้าพื้นทอมือสีเข้มมากกว่าที่จะมีลวดลายสีสันฉูดฉาด ชาวไทยโคราชได้รับอิทธิพลการเล่นสะบ้า การนุ่งผ้าโจงกระเบนและการปั่นหม้อดินเผา จนกล่าวได้ว่า “ลาวทอผ้าไทยตีหม้อ” ผู้หญิงจะนุ่งผ้าโจงกระเบน เป็นผ้าทอมือสีเข้ม หรือผ้าไหมหางกระรอกสีเข้ม สวมเสื้อลาย คล้องไหล่ หรือเป็นเสื้อคอกระเช้า ดอกกระโจมหรืออีแปะ ใช้ผ้าขาวม้าพาดไหล่ แทนสไบ คาดเข็มขัดเงิน ทอง หรือนาค นิยมใส่ตุ้มหูมากกว่าสร้อยหรือแหวนผู้หญิงสูงอายุจะนุ่งโจงกระเบน ส่วนวัยกลางคนนุ่งผ้าถุงเสื้อคอกระเช้า ส่วนผู้ชายจะนุ่งโสร่งหรือผ้าไหมโจงกระเบน สวมเสื้อสีขาว คอกลมหรือผ่าหน้าติดกระดุมหากออกนอกบ้านจะแต่งตัวเรียบร้อย สวมเสื้อมีคอปกฮาวาย หรือคอปกเชิ้ตใช้ผ้าขาวม้าคาดพุงเรียก “เคียนพุง” และมีผ้าขาวม้าพาดบ่าอีกผืน อยู่บ้านนิยมนุ่งกางเกงขาก๊วย ทั้งขาสั้นและขายาว ไม่สวมเสื้อ การแต่งกาย – หญิง นุ่งผ้าโจงกระเบน เป็นไหมหางกระรอกสีเข้ม สวมเสื้อลูกไม้ มีแขน คาดผ้าตะเบงมาน -ชาย นุ่งผ้าโสร่ง เป็นผ้าไหม คาดเอว (เคียนพุ) ด้วยผ้าไหม และพาดป่า ด้วยผ้าไหมอีกผืน สวมเสื้อย้อมคราม หรือเสื้อผ้าไหมลายตาราง
การแต่งกาย กลุ่มชาติพันธุ์ไทยส่วย(กูย) การแต่งกายและผ้าทอ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยส่วย (กูย) คุณค่าและความสำคัญ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยส่วย มีการทอผ้าไหมและผ้าฝ้าย มีเทคนิคการทอและลวดลายที่แตกต่างกันไป เช่น จิกกะน้อม (ผ้าหางกระรอก) จิกกวี (อันลุยซีม) จิกโฮล (ผ้ามัดหมี่ลายทาง) จิกอซอง (ผ้ายกลาย) – จิกกะน้อม เป็นผ้าที่มีลักษณะคล้ายผ้าหางกระรอกหรือผ้ากะเนียวของชาวไทยเขมร เป็นสีล้วน ลักษณะออกจะเหลี่ยมมัน เป็นผ้าสำหรับผู้ชายนุ่งในพิธีการสำคัญต่าง ๆ – โสร่ง เป็นผ้าลายตารางสี่เหลี่ยมใหญ่มีหลายสี ในการทอจะนำเส้นไหมมา “กวี” หรือมา:.บกันสองเส้นเพื่อให้เกิดความมันและหนา – จิกกวี นผ้าที่มีลักษณะคล้ายอันลุยซีมของชาวไทย-เขมร จะมีลายทางยาวเป็นร่องเ 1 เป็นผ้าที่ผู้หญิงใช้นุ่งในงานสำคัญๆ – จิกโฮล เงนผ้าประเภทผ้ามัดหมี่ลายทาง เรียกว่า “จิกโฮล” การนุ่งผ้าประเภทนี้จะต้องต่อเฉิง (ตีนซิ่น) และอึมเปิล (หัวซิ่น) เช่นเดียวกับจิกกวี – สไบกอซอง…
การแต่งกาย กลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร กลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมรมีการทอผ้าไหมและผ้าฝ้าย มีเทคนิคกาทอและลวดลายแตกต่างกันไป เช่น ผ้าโฮลผ้าสมอ ผ้าอันลุยซีม หรือจะประชวร (ผ้าหางกระรอกคู่) ผ้ากะเนียว ผ้าโรลเประ ผ้าชะพูดลีด (สไบผู้หญิง ผ้าปะโบล (เชิงผ้านุ่ง) เป็นต้น การแต่งกายของชาวไทยเชื้อสายเขมรในอีสานใต้ โดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเป็นที่น่าชื่นชม ผู้หญิงวัยสาวก่อนที่เข้าสู่วัยแต่งงานจะต้องเรียนรู้การทอผ้าและตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยมือก่อนที่จะออกเรือนโดยเฉพาะการตัดเย็บที่เรียกว่า “อาวเก็บ” ซึ่งเป็นเสื้อคอกลมแขนกระบอก สมัยก่อนใช้เงินพดด้วงแทนกระดุมเสื้อ ผู้หญิงจะนุ่งผ้าไหมทอมือที่มีลวดลายสีพื้นสวยงามเช่น ผ้าสมอ ผ้าสกู ผ้ากระเนียว ผ้าอันเปรม ผ้าโฮล ผ้าเก็บ ผ้าจคอ ผ้าโสร่งใช้ผ้าไหมพาดบ่าโดยพาดให้ชายผ้าอยู่ด้านหน้าอ้อมผ่านใต้รักแร้แล้วตวัดกลับไปด้านหลัง เป็นผ้าสไบหรือผ้าเยงไหลเรียกว่า “ผ้าเก็บ” ถ้าไปวัดจะเบี่ยงผ้าเก็บเป็นสีขาว ปัจจุบันหญิงจะสวมเสื้อตามสมัยนิยม ส่วนมากจะเป็นเสื้อลูกไม้นุ่งผ้าไหมทอมือ ส่วนผู้ชายจะนุ่งผ้าโจงกระเบนเรียกว่า”จองกระเบ็น” โดยใช้ผ้าโฮลเปราะ ทอเป็นผืนยาวไม่เย็บชายผ้าติดกัน ปัจจุบันผู้ชายจะนุ่งผ้าโสร่งการแต่งกาย
การแต่งกาย กลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาว คุณค่าและความสำคัญ ไทยลาว (ไทยอีสาน) นิยมผ้าฝ้ายมาแต่เดิมและพัฒนาผ้าฝ้ายเป็นการทอผ้ามัดหมี่ลวดลายต่าง ๆ ซึ่งมีชื่อเสียงในการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้ ใบไม้ แก่นไม้ ผ้าชินแขนกระบอกผ้าย้อมครามหรือมัดหมี่ เป็นที่นิยมของชนเผ่าไทยลาว กลุ่มที่แต่งกายแบบดั้งเดิมจริง ๆ นิยมแต่งด้วยผ้าย้อมคราม ทั้งเสื้อและผ้าซิ่น แต่ไม่สวยเด่นเท่าผ้ามัดหมี่ เพราะมีสีดำการพัฒนาการของการทอผ้ามัดหมี่ ทำให้ไทยลาวในปัจจุบันสามารถทอผ้าลายหมี่คั่นหลายสี เช่น สีเหลือง สีแดง และนิยมสีฉูดฉาด นอกจากนี้ชาวเผ่าไทยลาวยังนิยมทอผ้าห่ม ผ้าจ่อง ลวดลายสวยงาม ซึ่งสามารถปรับแต่งมาเป็นผ้าสไบโชว์ลวดลายของผ้าประกอบเสื้อผ้าได้เป็นอย่างดี เครื่องประดับของไทยลาวนิยมเครื่องเงินเช่นเดียวกับกลุ่มอื่น กลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวมีการทอผ้าไหมและผ้าฝ้าย มีเทคนิคการทอและลวดลายที่แตกต่างกันไป เช่น ผ้ามัดหมี่ ผ้าหางกระรอก ผ้าตีนจก ผ้าแพรวา ผ้าขิด เป็นต้น